Labels

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข่าวเทียรี่ คาราบาว

ประวัติ

เทียรี่ เมฆวัฒนา เกิดที่ประเทศลาว โดยมีพ่อทำงานให้กับหน่วยซีไอเอในลาวคอยหาเครื่องใช้ให้ทหารอเมริกัน แม่เป็นชาวสวิสเซอร์แลนด์ชื่อ Simond พอเทียรี่ อายุได้ 2 ขวบที่ประเทศลาวมีสงครามกลางเมืองพ่อจึงพาครอบครัวย้ายมาอยู่เมืองไทย เทียรี่มีความสนใจในการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยหัดเล่นกีตาร์ตอนอายุ 11 ขวบ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นคือเพลง Flying Machine ของคลิฟฟ์ ริชาร์ด เทียรี่ชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากบทเพลงของบ็อบ ดิลลันดอน แม็กลีนเดอะ บีทเทิลส์ รวมถึงวงควีน

[แก้]วงการบันเทิง

เทียรี่เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ แสดงละครและภาพยนตร์มาก่อน เริ่มมีผลงานทางดนตรีครั้งแรก เป็นดนตรีแนวโฟล์ก โดยเข้าร่วมวงดนตรี Runspot กับ กิตติคุณ เชียรสงค์ และหมึก ศิลปากร ออกอากาศรายการ เสาร์สนุก ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2521
หลังจากนั้นด้วยความที่ตัวเทียรี่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยจึงได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง "สตรีหมายเลขศูนย์" คู่กับชลธิชา สุวรรณรัต และได้เล่นเป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง "โอ้กุ๊กไก่" ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อและทำงานเป็นนักดนตรีตอนกลางคืนในร้านอาหาร ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยร้องเพลงสากลของคลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เอลวิส เพรสลี่ย์
หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ ก็ได้เล่นเป็นวงแบ็คอัพในห้องอัดเสียงของ อโซน่า และมีผลงานเพลงกับ ไพจิตร อักษรณรงค์จำนวน 2 อัลบั้มคือ รักแรก และ เรือรัก โดยอัลบั้มชุดที่ 2 มีเพลงฮิตอย่าง วานนี้ช้ำ วันนี้จำ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 วงคาราบาวมาอัดเสียงที่ห้องอัดแห่งนี้ เทียรี่จึงได้เป็นนักดนตรีแบ็คอัพบันทึกเสียงให้คาราบาวในชุด "ท.ทหารอดทน" ก่อนที่จะได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงเมื่อเล็ก ปรีชา ชนะภัยมือกีตาร์ของวงต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา เล็ก ปรีชาจึงให้เทียรี่มาทำหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีแทนตน
ด้วยความโด่งดังของอัลบั้มท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง "ปล. ผมรักคุณ" และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่ใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน

[แก้]เข้าร่วมวงคาราบาว

หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงมาอย่างยาวนานเทียรี่ ก็ได้เป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้มชุดเมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง นางงามตู้กระจก ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ก็อปปี้ ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวงที่เวโลโดรม ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลงเมด อิน ไทยแลนด์ ภาคภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า เมด อิน ไทยแลด์ อิน ยูเอสเอ
ในปี พ.ศ. 2528 เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในเรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับอุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวงตลอดจนมีดาราอื่นๆ เช่น สุพรรษา เนื่องภิรมย์พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าวบริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด ยืนยง โอภากุลได้แต่งเพลง รักคุณเท่าฟ้าโดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน
ในปีดังกล่าวเทียรี่ได้แต่งงานอีกครั้งกับนางเอกสาว อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งทั้งสองเคยมีงานแสดงร่วมกัน
จากนั้นคาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดอเมริโกย อัลบั้มนี้เทียรี่ได้ร้องนำ 1 เพลงคือเพลง มาลัย โดยวงคาราบาวได้กลายเป็นผู้นำแฟชั่นของวัยรุ่นในสมัยนั้นด้วยการแต่งตัวด้วยชุดลายพรางทหารและใส่แว่นดำ ต่อมาได้ร่วมงานกับทางวงในชุดประชาธิปไตย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 โดยได้ร้องนำคู่กับแอ๊ดในเพลง มหาจำลอง รุ่น 7
ในปี พ.ศ. 2530 คาราบาวออกอัลบั้มเวลคัม ทู ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มียอดขายเกิน 1,000,000 ก็อปปี้ และมีมิวสิกวิดีโอถึง 4 เพลง เทียรี่มีบทบาทในอัลบั้มชุดนี้มากโดยนอกจากจะเป็นมือกีตาร์และประสานเสียงแล้ว ยังได้ร้องเพลงในอัลบั้มนี้ถึง 3 เพลง คือเพลงสังกะสี, เพลงบิ๊กเสี่ยว ที่ร้องคู่กับแอ๊ด และเพลง คนหนังเหนียว ที่ร้องคู่กับเล็ก ปรีชา ชนะภัย
เทียรี่ เมฆวัฒนาโด่งดังถึงขีดสุดกับคาราบาวในอัลบั้ม ทับหลัง ในปี พ.ศ. 2531 จากการขับร้องเพลง แม่สาย ซึ่งเพลงนี้มีการทำเป็นมิวสิควิดีโอแบบแอนิเมชั่นอีกด้วย

[แก้]แยกวง

หลังวงคาราบาวประสบความสำเร็จจากอัลบั้มทับหลังในปี พ.ศ. 2531 เทียรี่จึงได้แยกวงไปพร้อมกับสมาชิกอีก 2 คน คือ อ. ธนิสร์ ศรีกลื่นดี และ อำนาจ ลูกจันทร์ และทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกอัลบั้มในชื่อชุด "ขอเดี่ยวด้วยคนนะ" ในปี พ.ศ. 2532 มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น สาวดอย สอยดาววันเกิดเงินปากผี เป็นต้น
หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ
ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองชุดแรกภายหลังแยกวง คือ "เจาะเวลา..." โดยอัลบั้มชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มโค้ก และได้ อิทธิ พลางกูร มาเป็นศิลปินรับเชิญร่วมขับร้องเพลง ทะเล ตลอดจนได้ชานนท์ ทองคง อดีตมือเบสวง เนื้อกับหนัง ซึ่งเป็นวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลยุคแรกๆ ของเมืองไทยมาร่วมงานด้วยในตำแหน่งมือเบส ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีเพลงฮิตที่รู้จักกันดีเช่น ปาปาย่า ป๊อก ๆ , สาวตากลมเจาะเวลาหาปัจจุบันรักขึ้นสมอง เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2534 ได้ออกอัลบั้ม สุดขั้วหัวใจ มีเพลงฮิตคือเพลง ความรักสีดำไผ่แดง ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครเรื่องไผ่แดง และเพลง สูงสุดสู่สามัญ ซึ่งได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาเพลงยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2534
เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2535 เทียรี่ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อชุดไม่เต็มบาท มีเพลงเด่นๆ เช่น แสงแห่งกาลเวลา, พขร.ณ รมต., ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน, ทำใจ, ฝันของดอกไม้ริมทาง เป็นต้น โดยอัลบั้มนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีโค้กเป็นผู้สนับสนุน ก่อนที่เทียรี่จะออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในปี พ.ศ. 2537 ในชุด คาถาเศรษฐี ซึ่งมีเพลงฮิตในขณะนั้นคือ ถังแตกสิ่งสุดท้ายแห่งความทรงจำ ตลอดจนมีเพลงประกอบโฆษณาอย่าง ปรารถนา และเพลงประกอบรายการโทรทัศน์อย่างเพลง จบที่ใจเป็นต้น
หลังจากนั้นเทียรี่ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวออกมาอีกหลายชุดเช่น ยาชูกำลัง,จักรวาล โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาเป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์ เป็นตัวของตัวเอง โดยมากเพลงที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง "สุดแต่ใจจะไขว่คว้า" (ช่อง 3: 2532), "ไผ่แดง" (ช่อง 7: 2534), "ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก" (ช่อง 3: 2537), "แม้เลือกเกิดได้" (ช่อง 7: 2544) เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ อิทธิ พลางกูร ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง พขร.ณ รมต. ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, หัวใจจิ้มจุ่ม ที่เล่นกับอักษร จ.จาน , ไปไหนไปด้วย ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม
ในปี พ.ศ. 2552 เทียรี่ได้รับเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาทางโทรทัศน์ให้กับโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อ G-Net โดยเป็นพรีเซนเตอร์ของโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เป็นคนแรกด้วย และปัจจุปันยังเป็นสมาชิกของวงคาราบาว
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปรากฏข่าวลือว่าเทียรี่ได้ฆ่าตัวตายด้วยการใช้ปืนยิงตัวเอง แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบกันแล้ว พบว่า เทียรี่มีอาการกระเพาะทะลุจากการดื่มสุราหนัก โดยพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสยาม[2]

หน้าปกอัลบั้ม เจาะเวลา...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น