Labels

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข่าวเทียรี่ คาราบาว

ประวัติ

เทียรี่ เมฆวัฒนา เกิดที่ประเทศลาว โดยมีพ่อทำงานให้กับหน่วยซีไอเอในลาวคอยหาเครื่องใช้ให้ทหารอเมริกัน แม่เป็นชาวสวิสเซอร์แลนด์ชื่อ Simond พอเทียรี่ อายุได้ 2 ขวบที่ประเทศลาวมีสงครามกลางเมืองพ่อจึงพาครอบครัวย้ายมาอยู่เมืองไทย เทียรี่มีความสนใจในการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยหัดเล่นกีตาร์ตอนอายุ 11 ขวบ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นคือเพลง Flying Machine ของคลิฟฟ์ ริชาร์ด เทียรี่ชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากบทเพลงของบ็อบ ดิลลันดอน แม็กลีนเดอะ บีทเทิลส์ รวมถึงวงควีน

[แก้]วงการบันเทิง

เทียรี่เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ แสดงละครและภาพยนตร์มาก่อน เริ่มมีผลงานทางดนตรีครั้งแรก เป็นดนตรีแนวโฟล์ก โดยเข้าร่วมวงดนตรี Runspot กับ กิตติคุณ เชียรสงค์ และหมึก ศิลปากร ออกอากาศรายการ เสาร์สนุก ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2521
หลังจากนั้นด้วยความที่ตัวเทียรี่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยจึงได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง "สตรีหมายเลขศูนย์" คู่กับชลธิชา สุวรรณรัต และได้เล่นเป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง "โอ้กุ๊กไก่" ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อและทำงานเป็นนักดนตรีตอนกลางคืนในร้านอาหาร ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยร้องเพลงสากลของคลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เอลวิส เพรสลี่ย์
หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ ก็ได้เล่นเป็นวงแบ็คอัพในห้องอัดเสียงของ อโซน่า และมีผลงานเพลงกับ ไพจิตร อักษรณรงค์จำนวน 2 อัลบั้มคือ รักแรก และ เรือรัก โดยอัลบั้มชุดที่ 2 มีเพลงฮิตอย่าง วานนี้ช้ำ วันนี้จำ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 วงคาราบาวมาอัดเสียงที่ห้องอัดแห่งนี้ เทียรี่จึงได้เป็นนักดนตรีแบ็คอัพบันทึกเสียงให้คาราบาวในชุด "ท.ทหารอดทน" ก่อนที่จะได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงเมื่อเล็ก ปรีชา ชนะภัยมือกีตาร์ของวงต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา เล็ก ปรีชาจึงให้เทียรี่มาทำหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีแทนตน
ด้วยความโด่งดังของอัลบั้มท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง "ปล. ผมรักคุณ" และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่ใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน

[แก้]เข้าร่วมวงคาราบาว

หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงมาอย่างยาวนานเทียรี่ ก็ได้เป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้มชุดเมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง นางงามตู้กระจก ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ก็อปปี้ ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวงที่เวโลโดรม ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลงเมด อิน ไทยแลนด์ ภาคภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า เมด อิน ไทยแลด์ อิน ยูเอสเอ
ในปี พ.ศ. 2528 เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในเรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับอุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวงตลอดจนมีดาราอื่นๆ เช่น สุพรรษา เนื่องภิรมย์พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าวบริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด ยืนยง โอภากุลได้แต่งเพลง รักคุณเท่าฟ้าโดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน
ในปีดังกล่าวเทียรี่ได้แต่งงานอีกครั้งกับนางเอกสาว อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งทั้งสองเคยมีงานแสดงร่วมกัน
จากนั้นคาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดอเมริโกย อัลบั้มนี้เทียรี่ได้ร้องนำ 1 เพลงคือเพลง มาลัย โดยวงคาราบาวได้กลายเป็นผู้นำแฟชั่นของวัยรุ่นในสมัยนั้นด้วยการแต่งตัวด้วยชุดลายพรางทหารและใส่แว่นดำ ต่อมาได้ร่วมงานกับทางวงในชุดประชาธิปไตย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 โดยได้ร้องนำคู่กับแอ๊ดในเพลง มหาจำลอง รุ่น 7
ในปี พ.ศ. 2530 คาราบาวออกอัลบั้มเวลคัม ทู ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มียอดขายเกิน 1,000,000 ก็อปปี้ และมีมิวสิกวิดีโอถึง 4 เพลง เทียรี่มีบทบาทในอัลบั้มชุดนี้มากโดยนอกจากจะเป็นมือกีตาร์และประสานเสียงแล้ว ยังได้ร้องเพลงในอัลบั้มนี้ถึง 3 เพลง คือเพลงสังกะสี, เพลงบิ๊กเสี่ยว ที่ร้องคู่กับแอ๊ด และเพลง คนหนังเหนียว ที่ร้องคู่กับเล็ก ปรีชา ชนะภัย
เทียรี่ เมฆวัฒนาโด่งดังถึงขีดสุดกับคาราบาวในอัลบั้ม ทับหลัง ในปี พ.ศ. 2531 จากการขับร้องเพลง แม่สาย ซึ่งเพลงนี้มีการทำเป็นมิวสิควิดีโอแบบแอนิเมชั่นอีกด้วย

[แก้]แยกวง

หลังวงคาราบาวประสบความสำเร็จจากอัลบั้มทับหลังในปี พ.ศ. 2531 เทียรี่จึงได้แยกวงไปพร้อมกับสมาชิกอีก 2 คน คือ อ. ธนิสร์ ศรีกลื่นดี และ อำนาจ ลูกจันทร์ และทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกอัลบั้มในชื่อชุด "ขอเดี่ยวด้วยคนนะ" ในปี พ.ศ. 2532 มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น สาวดอย สอยดาววันเกิดเงินปากผี เป็นต้น
หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ
ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองชุดแรกภายหลังแยกวง คือ "เจาะเวลา..." โดยอัลบั้มชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มโค้ก และได้ อิทธิ พลางกูร มาเป็นศิลปินรับเชิญร่วมขับร้องเพลง ทะเล ตลอดจนได้ชานนท์ ทองคง อดีตมือเบสวง เนื้อกับหนัง ซึ่งเป็นวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลยุคแรกๆ ของเมืองไทยมาร่วมงานด้วยในตำแหน่งมือเบส ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีเพลงฮิตที่รู้จักกันดีเช่น ปาปาย่า ป๊อก ๆ , สาวตากลมเจาะเวลาหาปัจจุบันรักขึ้นสมอง เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2534 ได้ออกอัลบั้ม สุดขั้วหัวใจ มีเพลงฮิตคือเพลง ความรักสีดำไผ่แดง ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครเรื่องไผ่แดง และเพลง สูงสุดสู่สามัญ ซึ่งได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาเพลงยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2534
เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2535 เทียรี่ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อชุดไม่เต็มบาท มีเพลงเด่นๆ เช่น แสงแห่งกาลเวลา, พขร.ณ รมต., ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน, ทำใจ, ฝันของดอกไม้ริมทาง เป็นต้น โดยอัลบั้มนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีโค้กเป็นผู้สนับสนุน ก่อนที่เทียรี่จะออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในปี พ.ศ. 2537 ในชุด คาถาเศรษฐี ซึ่งมีเพลงฮิตในขณะนั้นคือ ถังแตกสิ่งสุดท้ายแห่งความทรงจำ ตลอดจนมีเพลงประกอบโฆษณาอย่าง ปรารถนา และเพลงประกอบรายการโทรทัศน์อย่างเพลง จบที่ใจเป็นต้น
หลังจากนั้นเทียรี่ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวออกมาอีกหลายชุดเช่น ยาชูกำลัง,จักรวาล โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาเป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์ เป็นตัวของตัวเอง โดยมากเพลงที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง "สุดแต่ใจจะไขว่คว้า" (ช่อง 3: 2532), "ไผ่แดง" (ช่อง 7: 2534), "ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก" (ช่อง 3: 2537), "แม้เลือกเกิดได้" (ช่อง 7: 2544) เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ อิทธิ พลางกูร ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง พขร.ณ รมต. ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, หัวใจจิ้มจุ่ม ที่เล่นกับอักษร จ.จาน , ไปไหนไปด้วย ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม
ในปี พ.ศ. 2552 เทียรี่ได้รับเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาทางโทรทัศน์ให้กับโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อ G-Net โดยเป็นพรีเซนเตอร์ของโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เป็นคนแรกด้วย และปัจจุปันยังเป็นสมาชิกของวงคาราบาว
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปรากฏข่าวลือว่าเทียรี่ได้ฆ่าตัวตายด้วยการใช้ปืนยิงตัวเอง แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบกันแล้ว พบว่า เทียรี่มีอาการกระเพาะทะลุจากการดื่มสุราหนัก โดยพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสยาม[2]

หน้าปกอัลบั้ม เจาะเวลา...

ข่าวเเอ๊ด คาราบาว

ประวัติ

[แก้]ประวัติตอนต้น

คุณยิ่งยง กับ ยืนยง โอภากุล เริ่มเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจังหวัดสุพรรณบุรี และเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อเหมือนเด็กต่างจังหวัดทั่วไป โดยเข้าเรียนใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย (โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย) และต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี
ที่ฟิลิปปินส์ยืนยงได้พบกับเพื่อนคนไทยที่ไปเรียนหนังสือที่นั้น คือ สานิตย์ ลิ่มศิลา หรือ ไข่ และ กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร หรือ เขียว ซึ่งยืนยงได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน ,จอห์น เดนเวอร์ ,ดิ อีเกิ้ลส์ และปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ ไข่ สานิตย์ ลิ่มศิลา สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมา ทั้ง 3 จึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "คาราบาว" เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของมหาวิทยาลัย โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์ค
เมื่อยืนยงสำเร็จการศึกษาและกลับมาเมืองไทย ได้ทำงานประจำเป็นสถาปนิกในสำนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง และมีงานส่วนตัวคือรับออกแบบบ้านและโรงงาน ต่อมาเมื่อไข่และเขียวกลับมาจากฟิลิปปินส์ ทั้ง 3 ได้เล่นดนตรีร่วมกันอีกครั้งโดยเล่นในห้องอาหารที่โรงแรมวินเซอร์ สุขุมวิท 20 และต่อมาย้ายไปเล่นที่โรงแรมแมนดาลิน สามย่าน โดยขึ้นเล่นในวันศุกร์และเสาร์ แต่ทางวงถูกไล่ออกเพราะยืนยงขาดงานหลายวันโดยไม่บอกกล่าว
เมื่อวงถูกไล่ออก ไข่ จึงได้แยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ทางภาคใต้ แอ๊ดและเขียวยังคงเล่นดนตรีต่อไป โดยเล่นร่วมกับวง โฮป ต่อมาปี พ.ศ. 2523 แอ๊ดได้ทำงานเป็นสถาปนิก ประจำสำนักงานบริหารโครงการ ของการเคหะแห่งชาติ ส่วนเขียวทำงานเป็นวิศวกร ประเมินราคาเครื่องจักรโรงงานอยู่กับบริษัทของฟิลิปปินส์ที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย และทั้งคู่จะเล่นดนตรีในตอนกลางคืน โดยเล่นประจำที่ดิกเก็นผับ ในโรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท

[แก้]มีชื่อเสียง

จุดเปลี่ยนของชีวิตยืนยง โอภากุล อยู่ที่การรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับวงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ในชุด บินหลา โดยแอ๊ดยังเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มด้วย ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ทำให้แฮมเมอร์เป็นที่รู้จักในวงการเพลง และปี พ.ศ. 2523 แอ๊ดยังได้แต่งเพลง ถึกควายทุย ให้แฮมเมอร์บันทึกเสียงในอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา อัลบั้มชุดดังกล่าวทำให้แฮมเมอร์โด่งดังอย่างมาก หลังจากนั้นจึงได้ร่วมกับวงแฮมเมอร์ออกอัลบั้มเพลงขึ้นมาในชื่อ คณะชานเมือง โดยเป็นดนตรีแนวโฟล์คลูกทุ่ง และได้ร่วมแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของพนม นพพรเรื่องหมามุ่ย ในปี พ.ศ. 2524
หลังจากนั้นตัวของแอ๊ด ยืนยงก็มีความคิดที่ว่าหากจะออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวงคาราบาวในชื่อชุด "ขี้เมา" ในปี พ.ศ. 2524 สังกัดพีค๊อก สเตอริโอ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ในระหว่างนั้นวงคาราบาวในยุคแรกก็ได้ออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตตามโรงภาพยนตร์ต่างๆทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร บางครั้งมีคนดูไม่ถึง 10 คนก็มี
แอ๊ด คาราบาว เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสุวรรณภูมิ ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พร้อมกับไพรัช เพิ่มฉลาด มือเบส ก่อนจะออกเทปชุด เมด อิน ไทยแลนด์ โดยไม่ได้อยู่กุฎิ เพราะกุฎิเต็ม จึงได้อยู่ในโบสถ์ ตลอดที่บวชพระ 7 วัน
คาราบาว มาประสบความสำเร็จในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือ ชุด "เมด อิน ไทยแลนด์" ที่ออกในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 5 ล้านตลับ และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย และออกผลงานเพลงร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้แสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย
โดย ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง เป็นผู้มีบุคคลิกเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าพูดกล้าวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมอย่างแรงและตรงไปตรงมา โดยสะท้อนออกมาในผลงานเพลง ที่เจ้าตัวจะเป็นผู้เขียนและร้องเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีออกมามากมายทั้งอัลบั้มในนามของวงและอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง จนถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 900 เพลง รวมถึงการแสดงออกในทางอื่น ๆ ด้วย ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่ชอบและไม่ชอบ โดยผู้ที่ไม่ชอบคิดเห็นว่า เป็นการแสดงออกที่ก้าวร้าว รวมถึงตั้งข้อสังเกตด้วยถึงเรื่องการกระทำของตัวยืนยงเอง

[แก้]บทบาททางสังคมและข้อวิจารณ์

ยืนยง โอภากุล ไม่จำกัดตัวเองแต่ในบทบาทของศิลปินเพลงเท่านั้น แต่ยังเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และมีผลงานเขียนหนังสือและแสดงละคร ภาพยนตร์ต่าง ๆ ด้วย อาทิ เช่น เรื่องพรางชมพู กะเทยประจัญบาน (พ.ศ. 2545) ละครเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ ทางช่อง 9 (พ.ศ. 2544) ลูกผู้ชายหัวใจเพชร ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2546) เป็นต้น รวมถึงการทำงานภาคสังคมและมูลนิธิต่าง ๆ และยังได้แต่งเพลงประกอบโฆษณาหรือโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละโอกาสด้วย
ในปลายปี พ.ศ. 2545 ยืนยง โอภากุล ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองอย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นหุ้นส่วนสำคัญคนหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลัง ยี่ห้อ "คาราบาวแดง" โดยใช้ชื่อวงดนตรีของตัวเองมาเป็นจุดขาย ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างในสังคมว่า สมควรหรือไม่ กับผู้ที่เคยสู้เพื่ออุดมการณ์มาตลอด มาเป็นนายทุนเสียเอง ในปัจจุบันประชาชนหลายคนก็ยังเคลือบแคลงในจุดยืนของยืนยง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ระหว่างงานประกาศผลรางวัลสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 23 ณ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ คาราบาวได้รับเชิญร่วมแสดง ระหว่างการแสดงนั้น ยืนยงได้ทุ่มกีตาร์ลงพื้นแล้วเดินออกจากเวที โดยไม่บอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น สร้างความงุนงงอย่างมาก มีการตั้งข้อสังเกตไว้หลายทาง อาทิ ความไม่พอใจของยืนยงต่อระบบเครื่องเสียงภายในงาน เสียงตะโกนของผู้ชมให้รีบแสดงให้จบเพื่อให้งานดำเนินต่อ เสียงตะโกน "สัญญาหน้าหมา" ที่ล้อเพลง "สัญญาหน้าฝน" เป็นต้น แต่เจ้าตัวต่อมาได้ออกมาแถลงข่าวพร้อมขอโทษผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยอ้างสาเหตุว่าไม่พอใจทีมงานที่จัดระบบเสียงได้ไม่ถูกใจประกอบพักผ่อนน้อยตั้งแต่เสร็จจากงานคอนเสิร์ตเวโลโดรม รีเทิร์น ที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน[1]

[แก้]ชีวิตส่วนตัว

ชีวิตส่วนตัว ยืนยง โอภากุล มีชื่อเป็นภาษาจีนกลางว่า "หูฉุนฉาง" แปลว่า "เกิดบนดิน" ชอบเลี้ยงไก่ชนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีฟาร์มไก่ชนเป็นของตัวเอง รวมถึงยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย นอกจากคาราบาวแดงแล้ว ยังมีกิจการทางดนตรีอีก คือ มีห้องอัดเสียงที่บ้านของตัวเอง ชื่อ เซ็นเตอร์ สเตจ สตูดิโอ(มองโกล สตูดิโอ) ซึ่งเป็นสตูดิโอระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเมืองไทย และมีบริษัทเพลงชื่อ มองโกล เรคคอร์ด สมรสกับนางลินจง โอภากุล หญิงชาวบุรีรัมย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นหญิง 2 คน คือ ณิชา (เซน) และ ณัชชา (ซิน) โอภากุล และชาย 1 คน คือ วรมันต์ โอภากุล (โซโล)

แอ๊ด คาราบาว

ข่าว เล็ก คาราบาว

ปรีชา ชนะภัย



ปรีชา ชนะภัย
Lek2.jpg

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดปรีชา ชนะภัย
ชื่อเล่นเล็ก
ฉายากีตาร์ลายเซ็น
วันเกิด18 เมษายน พ.ศ. 2498 (56 ปี)
แหล่งกำเนิดกรุงเทพมหานคร
แนวเพลงเพื่อชีวิตร็อก
อาชีพนักร้อง, นักดนตรี
เครื่องดนตรีกีตาร์,แบนโจ,เปียโน,ซออู้,กู่เจิง
ปีพ.ศ. 2522 - ปัจจุบัน
ค่ายวอนเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
ส่วนเกี่ยวข้องคาราบาว
เว็บไซต์http://www.carabao.net

อดีตสมาชิก
เพรสซิเดนท์

โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง หยุดหัวใจไว้ที่รัก ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2527
ปรีชา ชนะภัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ เล็ก คาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่กรุงเทพมหานคร เล็กจบการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และเข้าเรียนระดับอาชีวศึกษาที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย รุ่นเดียวกับแอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) แต่ทั้งคู่ไม่เคยรู้จักกันระหว่างที่เรียน เล็กเล่นดนตรีครั้งแรกในแนวเพลงคลาสสิก และเข้าร่วมกับวงเพรสซิเดนท์ เล่นตามห้องอาหารในโรงแรมต่าง ๆ ในตำแหน่งมือกีตาร์ เป็นที่เลื่องลือกันในหมู่นักดนตรีว่า เล่นได้ดี จนกระทั่งแอ๊ดได้มาเล่นดนตรีในโรงแรมเดียวกัน โดยวงเพรซซิเด้นท์เริ่มเล่นก่อน และต่อด้วยคาราบาว ระหว่างที่แอ๊ดเล่นดนตรีอยู่ เล็กได้มายืนมองด้วยความสนใจ แอ๊ดจึงได้ชวนเข้ามาร่วมวงด้วยกัน และออกอัลบั้มในชุดที่ 2 ของวง ในชุด "แป๊ะขายขวด" ในปี พ.ศ. 2525
เมื่อคาราบาวโด่งดังถึงขีดสุดในปี พ.ศ. 2527 เล็ก ในฐานะมือกีตาร์ของวง จึงได้แสดงภาพยนตร์ เป็นครั้งแรก ในเรื่อง "หยุดหัวใจไว้ที่รัก" ซึ่งได้ไปถ่ายทำถึงประเทศญี่ปุ่น โดยรับบทเป็นพระเอกเอง ประกบคู่กับนางเอก อนุสรา จันทรังษี[1]
เล็ก คาราบาว นับได้ว่าเป็นนักกีตาร์ฝีมือดีคนหนึ่งของเมืองไทย สามารถเล่นกีตาร์ได้โดยไม่ใช้ปิ๊ก มีฝีมือการโซโล่กีตาร์อันดับต้น ๆ ของประเทศ รวมทั้งเล่นเครื่องดนตรีได้หลากหลาย เช่น แบนโจ, คีย์บอร์ด, เปียโน, กลอง เป็นต้น เล็ก คาราบาว ออกอัลบั้มเดี่ยวของตนชุดแรกในปี พ.ศ. 2532 ในชื่อชุด "ดนตรีที่มีวิญญาณ" มีความโดดเด่นและทันสมัยในแนวดนตรีในแบบโพรเกรสซีฟร็อก จึงทำให้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดทั้งสาขาศิลปินชายยอดเยี่ยมและอัลบั้มยอดเยี่ยม ในปีนั้นด้วย และมีอัลบั้มเดี่ยวออกมาต่อจากนั้นหลายชุด เช่น ภูผาหมอก, เรา...คนไทย, ล...เล็ก , มีดกรีดใจ, ขอทานเจ้าสำราญ,โลกใบนี้ เป็นต้น โดยบทเพลงที่แสดงถึงความสามารถทางดนตรีของเล็ก ที่เห็นเด่นชัดคือเพลง ขุนเขายะเยือก ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงที่มีการโซโล่กีตาร์ยาวนานถึง 5 นาที ในอัลบั้ม หากหัวใจยังรักควาย ปี พ.ศ. 2539
ชีวิตส่วนตัว เล็ก คาราบาว สมรสกับ ศศิธร ชนะภัย โดยมีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ต๊อด และ แฟ้บ (ประกาศิต) โดยบุตรคนแรกเกิดจากภรรยาเก่า[2] และมีกิจการส่วนตัวนอกเหนือจากการเล่นดนตรีคือ ผลิตกีตาร์โปร่งในนามของวงคาราบาว โดยเริ่มผลิตออกมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547[3] โดยออกมา 2 ชุด ใช้ชื่อรุ่นว่า "คนเก็บฟืน" และ "มนต์เพลงคาราบาว" และได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีกครั้ง ในเรื่อง "แฟนฉัน" ในปี พ.ศ. 2546 ที่โด่งดัง โดยรับบทเป็นพ่อของตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง และออกหนังสือที่เกี่ยวกับประสบการณ์การแสดงดนตรีในอเมริกา ในปี พ.ศ. 2545 ชื่อ "135 วัน อเมริกัน อเมริกา" และอีกเล่มเกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นดนตรีตั้งแต่ยุคแรก ๆ ในปี พ.ศ. 2550 ชื่อ "...เบื้องบนเป็นแผ่นฟ้ากว้าง..."
เล็ก คาราบาว มีบุคลิกที่ค่อนข้างเงียบขรึม ไว้หนวดยาวเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยไว้มาตั้งแต่ยังหนุ่ม ปัจจุบัน เล่นเครื่องดนตรีไฟฟ้าน้อยลง โดยมีความสนใจอยู่ที่เครื่องดนตรีพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชีย เช่น กู่เจิงซออู้ เป็นต้น และติดปิ๊กไว้กับเล็บนิ้วชี้มือขวาตัวเองอย่างถาวร มีกิจกรรมอดิเรกที่ชอบทำ คือ การเข้าครัวทำอาหารด้วยตนเอง [4]

Lek2.jpg